|
เครนเหนือศีรษะ : คานเดี่ยว
มีความเหมาะสมกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้งานยกน้ำหนักไม่หนักมาก ซึ่งควรมีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 6 ถึง 25 เมตร และควรมีน้ำหนักยกตั้งแต่ 0.1 ตัน ถึง 12.5 ตัน เป็นมาตรฐาน
|
|
|
เครนเหนือศีรษะ : คานคู่
มีความเหมาะสมกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้งานยกน้ำหนักที่หนักมาก ซึ่งควรมีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 10 ถึง 30 เมตร และควรมีน้ำหนักยกตั้งแต่ 5 ตัน ถึง 50 ตัน เป็นมาตรฐาน
|
|
|
เครนสนามขาสูง 2 ข้าง : คานเดี่ยว
มีความเหมาะสม ใช้ติดตั้งบนพื้นที่กลางแจ้ง และในร่มใต้หลังคาโรงงานสำหรับโรงงานที่ไม่ได้เตรียมโครงสร้างเสาไว้เพื่อรับเครนเหนือศีรษะ ซึ่งมีความจำเป็นต้องติดตั้งเครนสนามขาสูง 2 ข้าง
|
|
|
เครนสนามขาสูง 2 ข้าง : คานคู่
มีความเหมาะสมใช้ติดตั้งบนพื้นที่กลางแจ้ง และในร่มใต้หลังคาโรงงาน สำหรับโรงงานที่ไม่ได้เตรียมโครงสร้างเสาไว้เพื่อรับเครนเหนือศีรษะ ทุกประการ เช่นเดียวกับเครนสนามขาสูง 2 ข้าง
|
|
|
เครนสนามขาสูงข้างเดียว:คานเดี่ยว
มีความเหมาะสมใช้บนพื้นที่กลางแจ้ง โดยติดตั้งรางวิ่งชั้นบนไว้ที่เสาด้านข้าง-นอกตัวอาคารโรงงาน หรือใช้ติดตั้งในร่ม โดยติดตั้งรางวิ่งชั้นบนไว้ที่เสาด้านข้าง-ในตัวอาคารโรงงาน
|
|
|
เครนสนามขาสูง 2 ข้าง : คานคู่
มีความเหมาะสมใช้ติดตั้งบนพื้นที่กลางแจ้ง และในร่มภายในตัวอาคารโรงงาน มีคุณสมบัติทุกประการเช่นเดียวกันกับเครนสนามขาสูงข้างเดียว แบบคานเดี่ยวและกรณีที่ต้องการออกแบบเป็นคานคู่
|
|
|
เครนตั้งเสายื่นแขนหมุน
มีความเหมาะสมใช้สำหรับงานยกวัตถุงานหรือสินค้าเฉพาะพื้นที่ รอบวงรัศมีความยาวของวงแขนที่ยื่นหมุนของชุดเครน ซึ่งการออกแบบเครนชนิดนี้ต้องคิดถึงความต้องการ 4 ประการ
|
|
|
เครนติดผนังยื่นแขนหมุน
มีความเหมาะสมใช้สำหรับงานยกวัตถุงานหรือสินค้าเฉพาะพื้นที่ รอบวงรัศมีความยาวของวงแขนที่ยื่นหมุนของชุดเครน เช่นเดียวกันกับเครนตั้งเสายื่นแขนหมุน
|
|
|
เครนติดผนังยื่นแขนยก
มีความเหมาะสมใช้สำหรับงานยกวัตถุงานหรือสินค้าตามความยาวตลอดแนวด้านข้างผนังตัวอาคารโรงงาน ซึ่งแตกต่างกับเครนติดผนังยื่นแขนหมุนที่สามารถทำงานได้เฉพาะบริเวณเสาที่ยึด
|
|
|
เครนเหนือศีรษะแขวนวิ่งใต้ราง
สามารถออกแบบสร้างได้ทั้งแบบคานเดี่ยว และแบบคานคู่ ตามความเหมาะสมด้านการใช้งานเกี่ยวกับการยกน้ำหนัก และความกว้างในตัวอาคารโรงงาน
|
|