Last updated: 15 ก.ย. 2553 | 48246 จำนวนผู้เข้าชม |
ทางวิ่ง และ รางวิ่งเครน เป็นชุดโครงสร้างที่ผลิตจากเหล็กประเภท Wide Flange หรือ I-Beam หรืออาจใช้เป็น Box Profile ที่ผลิตขึ้นรูปจากแผ่นเหล็ก ซึ่งจะใช้ด้านความสูงเป็นแนวตั้งในการรับน้ำหนัก และใช้ด้านกว้างเป็นปีกป้องกันสั่นสะบัดจากแรงที่กระทำจากด้านข้าง โดยส่วนใหญ่จะทำการติดตั้งอยู่บนหัวเสาหรือหูช้าง (Bracket) ที่เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นเชิงหิ้งยื่นออกมาจากด้านข้างของเสาด้านบน โดยจะห่างปลายเสาประมาณ 2 เมตร เพื่อรองรับทางวิ่งเครน และชุดเครนไฟฟ้า สำหรับการคำนวณค่ามาตรฐานการแอ่นตัวของชุดทางวิ่งเครนนั้น ตามมาตรฐานมีค่าการแอ่นตัวไม่เกิน L/600 เมื่อรับน้ำหนักเต็มพิกัด ส่วนชุดรางวิ่งเครนเป็นชุดโครงสร้างที่ผลิตจากเหล็กประเภท รางรถไฟ หรือ เหล็กสี่เหลี่ยมตัน (Square Bar) ที่มีความคงทน หรือสึกหรอได้ยาก โดยการวางเชื่อมยึดติดตรงกับแกนรับน้ำหนักของชุดทางวิ่งเครน เพื่อใช้เป็นไกด์ให้ล้อเครนได้วิ่ง และรับน้ำหนักโดยตรงจากชุดเครนสำหรับเหล็กประเภทที่เป็นรางรถไฟนั้น จะต้องใช้ชุดอุปกรณ์บีบจับยึดให้ติดกับชุดทางวิ่งเครน ซึ่งปกติทั่วไปจะไม่นิยมใช้วิธีการเชื่อมติด เพราะเหล็กรางรถไฟส่วนใหญ่จะมีความแข็งพิเศษกว่าชุดทางวิ่งเครน จึงไม่สามารถเชื่อมไฟฟ้าให้ติดได้ดี และเมื่อเครนวิ่งผ่านบ่อยๆ เกิดแรงกดทับ และแรงกระแทกมากๆ อาจทำให้แนวเชื่อมแตกหลุดออกมาได้
|
6 ส.ค. 2552
6 ส.ค. 2552
6 ส.ค. 2552
6 ส.ค. 2552