038 989 369-72
TH
EN
หน้าหลัก
เกี่ยวกับเรา
สินค้า
รอก
เครน
เครนไฟฟ้าเหนือศีรษะ วิ่งบนราง แบบคานเดี่ยว
เครนไฟฟ้าเหนือศีรษะ วิ่งบนราง แบบคานคู่
เครนไฟฟ้าสนามขาสูงสองข้าง แบบคานเดี่ยว
เครนไฟฟ้าสนามขาสูงสองข้าง แบบคานคู่
เครนไฟฟ้าสนามขาสูงข้างเดียว แบบคานเดี่ยว
เครนไฟฟ้าสนามขาสูงข้างเดียว แบบคานคู่
เครนไฟฟ้าตั้งเสายื่นแขนยกหมุน แบบคานเดี่ยว
เครนไฟฟ้าติดผนังยื่นแขนยกหมุน แบบคานเดี่ยว
เครนสนามขาสูงสองข้างขนาดเล็ก แบบคานเดี่ยว
ชุดดับเบิ้ลเรล
รีโมทควบคุมเครนไฟฟ้า
สวิตซ์ควบคุมเครนไฟฟ้า
ระบบไฟควบคุมเครนไฟฟ้า
ดาวน์โหลด
วิดีโอ
ติดต่อเรา
ร่วมงานกับเรา
เพิ่มเติม
038 989 369-72
หน้าหลัก
เกี่ยวกับเรา
สินค้า
รอก
เครน
เครนไฟฟ้าเหนือศีรษะ วิ่งบนราง แบบคานเดี่ยว
เครนไฟฟ้าเหนือศีรษะ วิ่งบนราง แบบคานคู่
เครนไฟฟ้าสนามขาสูงสองข้าง แบบคานเดี่ยว
เครนไฟฟ้าสนามขาสูงสองข้าง แบบคานคู่
เครนไฟฟ้าสนามขาสูงข้างเดียว แบบคานเดี่ยว
เครนไฟฟ้าสนามขาสูงข้างเดียว แบบคานคู่
เครนไฟฟ้าตั้งเสายื่นแขนยกหมุน แบบคานเดี่ยว
เครนไฟฟ้าติดผนังยื่นแขนยกหมุน แบบคานเดี่ยว
เครนสนามขาสูงสองข้างขนาดเล็ก แบบคานเดี่ยว
ชุดดับเบิ้ลเรล
รีโมทควบคุมเครนไฟฟ้า
สวิตซ์ควบคุมเครนไฟฟ้า
ระบบไฟควบคุมเครนไฟฟ้า
ดาวน์โหลด
วิดีโอ
ติดต่อเรา
ร่วมงานกับเรา
เพิ่มเติม
TH
EN
หน้าแรก
บทความทั้งหมด
เครนไฟฟ้า
เครนสนามขาสูง 1 ข้าง แบบคานคู่
เครนสนามขาสูง 1 ข้าง แบบคานคู่
Last updated: 15 ก.ย. 2553
|
25004 จำนวนผู้เข้าชม
|
เครนสนามขาสูง 1 ข้าง : แบบคานคู่
SEMI GANTRY CRANES : DOULE GIRDER
เครนสนามขาสูง 1 ข้าง แบบคานคู่
มีความเหมาะสมใช้ติดตั้งบนพื้นที่กลางแจ้ง และในร่มภายในตัวอาคารโรงงานมีคุณสมบัติทุกประการเช่นเดียวกันกับเครนสนามขาสูงข้างเดียว แบบคานเดี่ยว และกรณีที่ต้องการออกแบบเป็นแบบคานคู่ เพราะผู้ใช้งานต้องการประสิทธิภาพภาพในการยกวัตถุ และสินค้าที่หนักกว่า และพื้นที่ใช้งานในพื้นที่ที่กว้างกว่า ดังเช่นที่กล่าวมาแล้วของลักษณะของเครนแบบคานเดี่ยว และแบบคานคู่ แต่มีข้อแตกต่างในการออกแบบใช้งานบางประการ กับเครนสนามขาสูง 2 ข้าง คือ เครนสนามขาสูงข้างเดียว ไม่ควรออกแบบให้มีเท้าแขน (Cantilever) ยื่นออกมาด้านนอกเหมือนกับเครนสนามขาสูง 2 ข้าง เพราะเครนสนามขาสูงข้างเดียว เมื่อมีเท้าแขนยื่นออกมาด้านข้างถ้าออกแบบได้ไม่ดีเมื่อรอกไฟฟ้ายกน้ำหนักเคลื่อนออกมาสามารถถ่วงให้ชุดขาเครนวิ่งด้านบนยกกระดกลอยออกจากรางวิ่ง และล้มคว่ำด้านข้างลงมาได้ และผู้ออกแบบก็มักไม่นิยมออกแบบตัวล็อกป้องกันการยกกระดกไว้ที่ฝั่งรางวิ่งด้านบนนั้นด้วย โดยถือเป็นความเสี่ยงที่ไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งานโดยตรง สิ่งที่สำคัญสำหรับการออกแบบเครนสนามขาสูงทุกประเภท ถ้าสามารถหลีกเลี่ยงทำได้ สัดส่วนความสูงต่อความกว้าง ต้องไม่น้อยกว่า 3 : 5 เพราะการออกแบบชุดคานที่ยาวกว่าความสูงของชุดขาเครน จะช่วยให้เกิดน้ำหนักถ่วงดุลอีกด้านมากขึ้น ทำให้เครนกระดกตัวพลิกล้มได้ยากกว่า และสำหรับองศาความลาดชันจากกึ่งกลางขาเครนรับชุดคานเครนด้านบนวัดจากเส้นตั้งฉากจากระดับด้านบนขยายกว้างออกมาตามเส้นลาดชันของขาเครนถึงเส้นผ่านศูนย์กลางของล้อเครนด้านล่าง ก็ไม่ควรน้อยกว่า 10 องศา ซึ่งจะทำชุดเครนสนามขาสูงมีขาหยั่งที่กว้างพอประมาณ ทรงตัวไม่ล้มได้ง่าย และอีกประการที่สำคัญคือ การออกแบบเครนสนามขาสูงทุกประเภท ต้องคิดคำถึงระดับพื้นที่รางวิ่งทั้ง 2 ฝั่ง ที่ระดับรางอาจมีการทรุดตัวได้ จึงจำเป็นต้องออกแบบขาเครนด้านใดด้านหนึ่งให้มีจุดหมุน (Flexible Leg) เพื่อให้เกิดการยืดหยุ่นตัวได้ แต่ถ้ามีความมั่นใจแน่นอนสำหรับระดับรางเครนทั้ง 2 ด้านว่าทำฐานรากไว้มั่นคงแข็งแรง ซึ่งจะไม่มีการทรุดตัวได้ในอนาคต ก็สามารถออกแบบให้เป็นขายึดแน่นทั้ง 2 ด้าน (Fix Leg) ได้เช่นเดียวกัน
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
เครนเหนือศีรษะ แบบคานเดี่ยว
22 มิ.ย. 2552
เครนติดผนังยื่นแขนยก
22 มิ.ย. 2552
เครนติดผนังยื่นแขนหมุน
22 มิ.ย. 2552
เครนเหนือศีรษะแขวนวิ่งใต้ราง
22 มิ.ย. 2552
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว
และ
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด