|
ตามประกาศจากกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน เมื่อปี พ.ศ. 2553 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือก ลวดสลิง และรอก ซึ่งรายละเอียดได้อาศัยอำนาจตามความในข้อ 86 แห่งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร และการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบด้วยมาตรา 33 มาตรา 41 มาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ค่ะ
|
ข้อ 1. ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือก ลวดสลิง และรอก พ.ศ. 2553”
|
ข้อ 2. ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
|
ข้อ 3. ในประกาศนี้
|
“เชือก” หมายถึง สิ่งที่มีลักษณะเป็นเส้นทำด้วยวัสดุที่มีคุณสมบัติเหนียว ที่ไม่ ใช่เส้นลวด หรือโซ่ เช่น ด้าย ป่าน หรือปอ ที่นำมาสาน ถัก มัดฟั่น หรือมัดตีเกลียว และให้หมายความรวมถึงสลิงใยสังเคราะห์ เช่น สลิงอ่อน สลิงผ้าใบ หรือสลิงไนล่อน
|
|
|
“ลวดสลิง” หมายถึง เชือกที่ทำด้วยเส้นลวดหลายเส้นที่ตีเกลีย หรือพันรอบแกนชั้นเดียว หรือหลายชั้น
|
|
|
“รอก” หมายถึง อุปกรณ์ผ่อนแรงมีลักษณะคล้ายล้อ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสิ่งของ โดยร้อยไว้กับเชือกโซ่หรือ ลวดสลิง
|
|
|
|
หมวด 1 บททั่วไป
|
|
ข้อ 4. ให้นายจ้างใช้เชือก ลวดสลิง และรอก ให้เป็นไปตามคุณลักษณะและข้อกำหนดของการใช้งาน ที่ผู้ผลิตหรือวิศวกรกำหนดให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับเชือก ลวดสลิง และรอก ได้ทราบถึงคุณลักษณะ และข้อกำหนดของการใช้งานของเชือก ลวดสลิง และรอก ตามวรรคหนึ่ง
|
ข้อ 5. ให้นายจ้างตรวจสอบเชือก ลวดสลิง รอก และอุปกรณ์ประกอบเบื้องต้นให้อยู่ในสภาพปลอดภัย พร้อมใช้งาน และตรวจตามรายการตามระยะเวลาที่ผู้ผลิตหรือวิศวกรกำหนด
|
ข้อ 6. การใช้งานเชือก หรือลวดสลิงในการยก ดึง ลาก สิ่งของ นายจ้างต้องจัดให้มีการถักหรือทำเป็นบ่วงที่ปลายเชือกหรือลวดสลิงโดยการผูก มัด หรือยึดโยง ให้มั่นคงแข็งแรงและทดลองยก ดึง ลาก เพื่อตรวจสอบสภาพสมดุลย์ก่อนการปฏิบัติงานจริง
|
ข้อ 7. ให้นายจ้างจัดให้มีมาตรการด้านความปลอดภัยในรัศมีการทำงานที่อาจได้รับอันตรายจากการใช้เชือก ลวดสลิง รอก เนื่องจากการตกหล่น ดีด หรือกระเด็น และจัดให้มีป้ายเตือนอันตรายดังกล่าว ติดไว้ให้เห็นชัดเจน ณ บริเวณนั้น
|
ข้อ 8. ให้นายจ้างควบคุมดูแลมิให้ผู้ใดใช้เชือก ลวดสลิง หรือรอกในการห้อย โหน เกาะขึ้นลง หรือเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
|
ข้อ 9. ให้นายจ้างจัดให้มีการเก็บและบำรุงรักษาเชือก ลวดสลิง รอก ตามข้อกำหนดชนิด ประเภท วัตถุประสงค์ รายละเอียด และระยะเวลาที่ผู้ผลิตหรือวิศวกรกำหนด
|
|
หมวด 2 เชือก
|
|
ข้อ 10. ให้นายจ้างใช้เชือกที่มีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 5 ขณะใช้งาน และต้องควบคุมตรวจสอบมิให้นำเชือกผุเปื่อย ยุ่ย ชำรุด สกปรก หรือพอง อันอาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยมาใช้งานนายจ้างต้องควบคุมตรวจสอบเพิ่มเติมมิให้นำสลิงใยสังเคราะห์ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ มาใช้งาน
|
(1) มีรอยเย็บปริ หรือขาด
|
(2) มีเศษโลหะหรือสิ่งอื่นใดฝังตัวอยู่ในเส้นใย หรือเกาะที่ผิว
|
(3) มีรอยเนื่องจากความร้อนหรือสารเคมี
|
ข้อ 11. ให้นายจ้างควบคุมดูแลการใช้เชือกสำหรับการยก ดึง ลาก ผูก มัด หรือยึดโยงมิให้ ถู ลาก กับพื้นดินหรือพื้นผิวขรุขระหรือในขณะใช้งาน
|
ข้อ 12. ให้นายจ้างจัดให้มีการทำความสะอาดเชือกหลังจากใช้งานเสร็จสิ้นแล้ว และเก็บรักษาไว้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ไม่ให้ถูกความชื้น ความร้อน หรือสารเคมี |
|
หมวด 3 ลวดสลิง
|
|
ข้อ 13. ห้ามมิให้นายจ้างนำลวดสลิงที่มีลักษณะดังต่อไปนี้มาใช้งาน
|
(1) ถูกกัดกร่อนชำรุด หรือเป็นสนิมจนเห็นได้ชัดเจน
|
(2) มีร่องรอยเนื่องจากถูกความร้อนทำลาย
|
(3) ขมวด (Kink) หรือแตกเกลียว (Bird Caging)
|
(4) เส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลงเกินร้อยละห้าของเส้นผ่านศูนย์กลางเดิม
|
(5) เส้นลวดในหนึ่งช่วงเกลียว (Lay) ขาดตั้งแต่สามเส้นขึ้นไปในเกลียว (Strand) เดียวกัน หรือขาดตั้งแต่หกเส้นขึ้นไปในหลายเกลียว (Strands) รวมกัน
|
ข้อ 14. ลวดสลิงที่นายจ้างนำมาใช้สำหรับการผูก มัด หรือยึดโยงวัสดุ สิ่งอื่นใดต้องมีค่า
ความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 5
|
- กรณีใช้ลวดสลิงสำหรับยึดโยงส่วนใดส่วนหนึ่งของเครื่องจักร หรือปั้นจั่น ต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 3.5
|
- กรณีใช้ลวดสลิงสำหรับเป็นลวดสลิงวิ่ง ต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 6
|
ข้อ 15. กรณีนายจ้างใช้ลวดสลิงสำหรับการผูก มัด หรือยึดโยงวัสดุ และมีการใช้คลิปตัวยูเป็นตัวยึด ต้องจัดให้มีคลิปอย่างน้อยสามอัน โดยให้ด้านท้องของคลิปกดอยู่กับปลายลวดสลิงด้านที่รับแรง
|
ข้อ 16. ให้นายจ้างจัดให้มีการควบคุมดูแลให้มีลวดสลิงเหลืออยู่ในม้วนลวดสลิงไม่น้อยกว่าสองรอบในขณะทำงาน
|
|
หมวด 4 รอก
|
|
ข้อ 17. ห้ามมิให้นำรอก มาใช้งานผิดประเภท เช่น ห้ามนำรอกที่ใช้กับเชือกมาใช้กับลวดสลิง
|
ข้อ 18. นายจ้างต้องใช้รอกที่ผลิตด้วยวัสดุที่แข็งแรงทนทาน เมื่อนำรอกมาใช้งานรอกต้องไม่แตกบิ่นสึกหรอหรือชำรุด
|
ข้อ 19. ให้นายจ้างปฏิบัติเมื่อมีการนำรอกมาใช้งาน ดังนี้
|
(1) จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกัน เช่น ครอบรอก รอกช่วย เพื่อมิให้เชือก ลวดสลิง หลุดจากร่องรอก
|
(2) กำหนดมาตรการสำหรับผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในเขตที่มีการใช้รอกเหนือระดับพื้นทางเดินและห้ามมิให้ผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณดังกล่าว
|
ข้อ 20. ให้นายจ้างควบคุมตรวจสอบการใช้ชุดรอกที่ใช้แขวนกระเช้านั่งร้าน (Suspended Scaffold) ให้เป็นไปตามคุณลักษณะของชุดรอก หรือตามคู่มือหรือคำแนะนำการใช้งานของผู้ผลิต และต้องมีความแข็งแรงสมบูรณ์สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย
|
|
|
|
|
|
|