สำหรับคอลัมน์นี้ผมขอแนะนำกการตรวจสอบตรวจสภาพเครนก่อนใช้งานประจำวันโดยพนักงานผู้ควบคุมเครนการตรวจสอบตรวจสภาพเครนประจำวันเป็นหนึ่งในภาระกิจของพนักงานผู้ควบคุมเครนครับ |
|
|
|
การตรวจสอบตรวจสภาพเครนไฟฟ้ามี 2 หัวข้อหลักๆ ด้วยกันดังนี้ |
1. การตรวจสอบก่อน On Power-ตรวจสอบด้วยสายตา
- ตรวจสอบป้ายเตือน ป้ายอันตรายบนแผงสวิทซ์หรือบน On/Off สวิทซ์
- ตรวจให้แน่ใจว่าไม่มีเศษวัสดุหรือสิ่งกีดขวางบน รางเครนหรือบนสะพานเครน
- ตรวจสอบสิ่งกีดขวางบนรางเครนทั้งแนวขวางและแนวยาว
- สภาพการม้วนสลิงบนกว้าน (Rope Drum) ต้องไม่ไขว้ไปมา
- ตรวจสอบอุปกรณ์ช่วยยก เช่น โซ่ สลิง, สลิงผ้าใบคานยกตะขอมีร่องรอยการแตกชำรุด หรือเสียรูปไปจากปกติ หรือไม่ |
2. การตรวจสอบหลัง On Power-ตรวจสอบด้วยสายตา
- ทดสอบสัญญาณเสียงและสัญญาณไฟ
- ตรวจสอบชุดขอเกี่ยวและแผ่นกันสลิงตก
- ทดสอบการเคลื่อนที่ทั้ง 6 ทิศทาง กดปุ่มบังคับ : ตามแนวรางวิ่งเดินหน้า-ถอยหลัง, ตาม แนวสะพานเครน ขวาง
ซ้าย-ขวา และตามแนวดิ่งขึ้น-ลงเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่
- กดทดสอบ ปุ่ม หยุดฉุกเฉิน Emergency Stop
- ทดสอบเบรคโดยยกสิ่งของสูงจากพื้นประมาณ 15-30 เซนติเมตร
- ทดสอบการทำงานของชุดอุปกรณ์ เสริมความปลอดภัย ลิมิตสวิทซ์ ทั้ง 6 ทิศทาง |
|
จากทั้งสองหัวข้อที่ได้กล่าวไปแล้วนั้นในส่วนของผู้ใช้งานหากพบว่ามีสิ่งผิดปกติในระห่วางการทำงานควรหยุดการใช้งานเครน และแจ้งช่างผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจแก้ไข |
|
สำหรับการหยุดใช้งานเครนไฟฟ้าในแต่ละวัน ควรกำหนดจุดจัดเก็บหรือช่องสำหรับเครนไฟฟ้านั้นๆ เพื่อความเรียบร้อยและสะดวกต่อการตรวจเช็คของพนักงานผู้ทำหน้าที่ตววจสอบหรือใช้งาน |