2017.03.079 ลักษณะของโครงสร้างเครนไฟฟ้าแบบคานเดี่ยว และแบบคานคู่

Last updated: 10 Jan 2018  |  20710 Views  | 

หน้าแรก ข้อมูลบริษัท สินค้า&ผลิตภัณฑ์ เครนไฟฟ้า งานแสดงสินค้า บริการ ข่าวสาร ติดต่อเรา เว็ปไซต์ที่เกี่ยวข้อง
                                  
สวัสดีครับ ลูกค้าของ บริษัท ไทแทน เครน ผู้รักการอ่านทุกท่าน
 
          เดือนนี้ได้กลับมาพบกันอีกครั้งกับผม ศุภชัย ครับ เดือนที่ 3 ของปีใหม่แล้ว วันเวลาผ่านไปเร็วมาก ขอให้ทุกๆท่านมีพลัง ที่จะก้าวเดินต่อไปให้ทันกับ โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาครับ
      และในเดือนมีนาคมนี้ หลายๆ คนอาจยังไม่เคยทราบว่า วันที่ 22 มีนาคม นี้ เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของมวลมนุษยชาติเลยทีเดียว เพราะมนุษย์เราต้องใช้ทรัพยากรนี้ในการดำรงชีวิต ทรัพยากรที่ว่านี้ก็คือ "น้ำ" นั่นเอง โดยวันที่ 22 มีนาคมของทุกปี เป็นวัน World Water Day หรือ วันอนุรักษ์น้ำโลก
 
วันอนุรักษ์น้ำโลก (World Water Day)
        ทั้งนี้ วันอนุรักษ์น้ำโลก มีจุดเริ่มต้นจากการประชุมเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิลในวันที่ 22 มีนาคมปี 1992 ที่มีเนื้อหาสำคัญโดยตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรน้ำของมนุษย์ จึงมีแนวคิดที่จะจัดกิจกรรมที่จะเป็นแผนแม่บทให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้เฝ้าระวังทรัพยาการน้ำในประเทศนั้นๆ และในวันนั้นเองสมัชชาทั่วไปแห่งสหประชาชาติก็ได้ออกประกาศให้่วันที่ 22 มีนาคมของทุกปี เป็นวัน World Water Day หรือวันอนุรักษ์น้ำโลก  
 
          โดยทางองค์การสหประชาชาติจะกำหนดกำหนดธีมหรือหัวข้อประเด็นของวันอนุรักษ์น้ำโลกในแต่ละปีแตกต่างกันออกไป ซึ่งแม้การรณรงค์ในวันน้ำโลกจะไม่สามารถประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาได้ แต่การกำหนดหัวข้อของวันน้ำโลกในแต่ละปีนั้น ถือเป็น การสะท้อนให้เห็นถึงประเด็นปัญหาสำคัญ เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำที่เชื่อมโยงกับประชากรโลกได้เป็นอย่างดีในช่วงเวลานั้น 

 
 
        ทั้งนี้ หัวข้อเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับประเทศไทยมากเช่นกัน แม้ประเทศไทยจะไม่ใช่ประเทศที่ขาดแคลนอาหาร แต่ยังเป็นประเทศที่ผลิตอาหารและส่งออกเป็นอันดับสำคัญของโลก และยังต้องใช้น้ำเป็นทรัพยากรพื้นฐานซึ่งไม่เพียงแค่สำหรับอุปโภค บริโภคโดยตรง แต่ยังเป็นทรัพยากรพื้นฐานสำหรับการผลิตทั้งเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม แน่นอนว่าเนื่องในวันน้ำโลกปีนี้ประชาชนคนไทยก็หวังที่จะได้เห็นแหล่งน้ำต่างๆ ได้รับการปกป้อง ได้เห็นแหล่งน้ำสะอาดอยู่ในทุกๆ ที่ และได้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำที่เต็มไปด้วยอาหาร และสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำอย่างเต็มที่
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิงจากเว็ป Kapook.com
และรูปภาพจากเว็ป Google.com
                                                                                                        

ลักษณะของโครงสร้างเครนไฟฟ้าแบบคานเดี่ยว และแบบคานคู่

                                                                                             
 สำหรับย่อหน้าต่อไปนี้นี้ผมจะอธิบายลักษณะของโครงสร้างเครนไฟฟ้าทั้งแบบคานเดี่ยว และแบบคานคู่ครับ อุตสาหกรรมหนักนับได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ อัตราการขยายตัวของอุตสาหกรรมหนักเป็นตัวบ่งชี้ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างชัดเจน เครนไฟฟ้าเหนือศีรษะ เป็นเครื่องจักรกลชนิดหนึ่งที่มีบทบาทอย่างยิ่ง และเพิ่มปริมาณการใช้เติบโตควบคู่มากับอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมหนักของประเทศ อาทิเช่น อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาห กรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมพลังงานอุตสาหกรรมเหล่านี้จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุ (Material Handing) ในการทำงานสำหรับการเคลื่อนย้ายวัสดุอุปกรณ์ ภายในสายงานการผลิตของโรงงานเครนไฟฟ้าเหนือศีรษะ เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุที่มีบทบาทที่สำคัญซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญ คือ รอกไฟฟ้า (Electric Hoist) ไว้สำหรับยกน้ำหนัก ชุดคานล้อ (End Carriage) มีหน้าที่ขับเคลื่อนชุดเครนบนรางวิ่งตามแนวยาว (Runway Beam) ของโรงงาน การเคลื่อนที่ของเครนโดยทั่วไปจะแบ่งการเคลื่อนที่ได้เป็น 6 ทิศทาง คือ การเคลื่อนที่เพื่อยกของในทิศทางขึ้นการวางของในทิศทางลง การเคลื่อนที่เพื่อย้ายของในทิศทางซ้าย และขวาของอาคารโรงงาน รวมทั้งการเคลื่อนที่เพื่อย้ายในแนวทิศทางหน้า และหลังของอาคารโรงงาน โดยการเคลื่อนที่ทุกทิศทางล้วนใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนทั้งสิ้น เครนไฟฟ้าเหนือศีรษะถูกควบคุมโดยชุดปุ่มกดที่มีสายไฟต่อกับชุดมอเตอร์ขับเครน หรือ โดยวิทยุควบคุมพนักงานที่มีประสบการณ์สามารถเคลื่อนย้ายเครนไปยังตำแหน่งต่างๆ ได้อย่างแม่นยำโดยใช้สัญญาณจากชุดอุปกรณ์ควบคุมดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น โครงสร้างเครน (Crane Structure) เป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบเครนที่มีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากต้องรับน้ำหนักในภาวะที่เครนอยู่กับที่ (Static Load) และรับน้ำหนักในภาวะที่เครนมีการเคลื่อนที่ (Dynamic Load) โครงสร้างเครนจะประกอบไปด้วยเครน (Crane Bridge or Girder) คานล้อขับเคลื่อนเครน (End Truck or End Carriage) และโครงสร้างอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะกล่าวต่อไปตามลำดับ
 
 
           เครน คือ คานกลางที่รับน้ำหนักการยกเป็นส่วนที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการรับน้ำหนักของเครนในเชิงอยู่กับที่เครนต้องออกแบบให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานในด้านความปลอดภัย และโดยทั่วไปในอุตสาหกรรมจะ ใช้รูปแบบเครนเป็นตัวแบ่งประเภทของเครนไฟฟ้าเหนือศีรษะ ตามลักษณะของเครนที่รับน้ำหนัก โดยทั่วไปประเภทของเครนไฟฟ้าเหนือศีรษะ จะถูกแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ เครนไฟฟ้าเหนือศีรษะแบบคานเดี่ยว และเครนไฟฟ้าเหนือศีรษะแบบคานคู่ 
 
        ลักษณะของโครงสร้างเครนไฟฟ้าแบบคานเดี่ยว และแบบคานคู่ จะแตกต่างกันออกไป ตามพื้นที่หน้างาน และการใช้งานของอุตสาหกรรมแต่ละประเภท ตามรายละเอียดต่อไปนี้
                
Overhead Cranes (Single Girder)
เครนเหนือศรีษะ แบบคานเดี่ยว
  Overhead Cranes (Doule Girder)
เครนเหนือศีรษะ แบบคานคู่
     มีความเหมาะสมใช้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้งานยกน้ำหนักไม่หนักมาก ซึ่งควรมีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 6 - 25 เมตร และ ควรมีน้ำหนักยกตั้งแต่ 0.1 ตัน ถึง 12.5 ตัน เป็นมาตรฐาน
 
        มีความเหมาะสมใช้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้งานยกน้ำหนักที่หนักมาก ซึ่งควรมีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 10-30 เมตร และควรมีน้ำหนักยกตั้งแต่ 5 ตัน ถึง 50 ตัน เป็นมาตรฐาน
 
Gantry Cranes (Single Girder)
เครนสนามขาสูง 2 ข้าง แบบคานเดี่ยว
  Gantry Cranes (Double Girder)
เครนสนามขาสูง 2 ข้าง แบบคานคู
     มีความเหมาะสมใช้ติดตั้งบนพื้นที่กลางแจ้ง และในร่มใต้หลังคาโรงงาน สำหรับโรงงานที่ไม่ได้เตรียมโครงสร้างเสาไว้ เพื่อรับเครนเหนือศีรษะ ซึ่งมีความจำเป็นต้องติดตั้งเครนสนามขาสูง 2 ข้าง วางบนพื้นโรงงาน และลักษณะเช่นเดียวกับเครนเหนือศีรษะ แบบคานเดี่ยว ที่มีความเหมาะสม สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้งานยกน้ำหนักไม่มากนัก ควรมีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 6 - 20 เมตร และควรมีน้ำหนักยกตั้งแต่ 0.1 ตัน ถึง 12.5 ตัน เป็นมาตรฐาน
 
     มีความเหมาะสมใช้ติดตั้งบนพื้นที่กลางแจ้ง และในร่มใต้หลังคาโรงงาน สำหรับโรงงานที่ไม่ได้เตรียมโครงสร้างเสาไว้ เพื่อรับเครนเหนือศีรษะ ทุกประการเช่นเดียวกับเครนสนามขาสูง 2 ข้าง แบบคานเดี่ยว และลักษณะเช่นเดียวกับเครนเหนือศีรษะแบบคานคู่ ที่มีความเหมาะสมกับโรงงานอุตสาหกรรม ที่ใช้งานยกน้ำหนักที่หนักมาก ควรมีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 10-30 เมตร และควรมีน้ำหนักยกตั้ง แต่ 5 ตัน ถึง 50 ตัน เป็นมาตรฐาน
 
                                       
Semi Gantry Cranes (Single Girder)
เครนสนามขาสูงข้างเดียว แบบคานเดี่ยว
  Semi Gantry Cranes (Double Girder)
เครนสนามขาสูงข้างเดียว แบบคานคู่
       มีความเหมาะสมใช้บนพื้นที่กลางแจ้ง โดยติดตั้งรางวิ่งชั้นบนไว้ที่เสาด้านข้าง-นอกตัวอาคารโรงงาน หรือใช้ติดตั้งในร่ม โดยติดตั้งรางวิ่งชั้นบนไว้ที่เสา ด้านข้าง-ในตัวอาคารโรงงาน หรือผู้ใช้งานสามารถออกแบบเครนในโรงงานเป็น 2 ระดับได้อีกด้วย โดยใช้ติดตั้งใต้ชุดเครนเหนือศีรษะเพื่อทำงานเฉพาะเครื่องจักร หรือใช้งานกับพื้นที่ในอาคารโรงงาน ด้านใดด้านหนึ่ง หรือติดตั้งไว้ทั้ง 2 ฝั่ง ของตัวอาคารโรงงานเดียวกันก็ได้
 
       มีความเหมาะสมใช้ติดตั้งบนพื้นที่กลางแจ้ง และในร่มภายในตัวอาคารโรงงาน มีคุณสมบัติทุกประการเช่นเดียวกันกับเครนสนามขาสูงขาเดียวแบบคานเดี่ยว และกรณีที่ต้องการออกแบบคานคู่ เพราะส่วนมากผู้ใช้งานต้องการประสิทธิภาพ ในการยกวัตถุ และสินค้าที่หนักกว่า และพื้นที่ใช้งานในพื้นที่ที่กว้างกว่า
                                                                            
                                                             
                             
Piller Jib Cranes
เครนตั้งเสายื่นแขนหมุน
  Wall Jib Cranes
เครนติดผนังยื่นแขนหมุน
     มีความเหมาะสมใช้สำหรับงานยกวัตถุงาน หรือสินค้าเฉพาะพื้นที่รอบวงรัศมี ความยาวของวงแขนที่ยื่นหมุนของชุดเครน ซึ่งการออกแบบเครนชนิดนี้ ต้องคิดถึงความต้องการ 4 ประการ 1.ขนาดน้ำหนักที่ต้องการยกวัตถุ 2.ระยะความสูง 3.ระยะแขนยื่น 4.ระยะรัศมีของวงแขนหมุน ที่นิยมใช้กันอยู่ที่ 180, 270, 360 องศา
 
     มีความเหมาะสมใช้สำหรับงานยกวัตถุงาน หรือสินค้าเฉพาะพื้นที่รอบวงรัศมี ความยาวของวงแขนที่ยื่นหมุน ของชุดคานเครนเช่นเดียวกันกับเครนตั้งเสายื่นแขนหมุน แต่สิ่งที่แตกต่างกัน คือการใช้เสาของอาคารโรงงาน เป็นตัวยึดโครงสร้าง เพื่อให้แขนหมุนเท่านั้น 
                                     
                                    
                     
Wall Cranes
เครนติดผนังยื่นแขนยก 
  Underhung Cranes
เครนเหนือศีรษะแขวนวิ่งใต้ราง 
      สามารถออกแบบได้ทั้งคานเดี่ยว และแบบคานคู่ ตามความเหมาะสม ใช้สำหรับงานยกวัตถุงาน หรือสินค้าตามความยาวตลอดแนวด้านข้างผนังตัวอาคารโรงงาน ซึ่งแตกต่างกับเครนติดผนังยื่นแขนหมุนที่ สามารถทำงานได้เฉพาะบริเวณเสาที่ยึดติดเท่านั้น และมีลักษณะแตกต่างกับเครนสนามขาสูงข้างเดียว ตรงที่เครนสนามขาสูงข้างเดียว มีขาเครนข้างหนึ่ง วิ่งบนรางด้านบนติดกับเสาโรงงาน แต่เครนติดผนังนั้นมีชุดขาเครน 3 ขา 6 ล้อ วิ่งอยู่บนราง 2 ชั้น โดยชุดขาเครนทั้งหมดติดตั้งไว้ที่รางวิ่งทั้ง 2 ชั้นติดตั้งกับเสาข้างผนังโรงงาน และชุดขาเครนยื่นตัวออกมาอิสระเพื่อยกวัตถุ หรือสินค้า ซึ่งการใช้งานยกสินค้าตลอดแนวด้านข้างของโรงงาน
 
     สามารถออกแบบสร้างได้ทั้งแบบคานเดี่ยว และแบบคานคู่ ตามความเหมาะสมด้านการใช้งานเกี่ยวกับการยกน้ำหนัก และความกว้างในตัวอาคารโรงงาน ดังที่ได้กล่าวอธิบายไว้แล้วในส่วนของเครนเหนือศีรษะ ที่วิ่งด้านบนรางวิ่ง เครนลักษณะนี้ มีความเหมาะสมใช้กับอาคารโรงงานอุตสาหกรรมบางอย่าง ที่ต้องการใช้งานพื้นที่ด้านล่างกว้างมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ เช่น อาคารโรงจอดซ่อมเครื่องบินขนาดใหญ่ หรือโรงงานสร้างเรือยอร์ชในร่ม และโรงงานประกอบชิ้นส่วนโครงสร้างที่มีความกว้างยาวใหญ่โตเพื่อใช้งาน
ยกชิ้นส่วนประกอบติดตั้งเป็นชิ้นๆ ไป                                                                                                                                                     
   
โครงสร้างภายในกล่องคานเครน (Box Girder Structure)
        คานเครนเป็นคานโลหะที่รับน้ำหนักจากการยกจากรอกไฟฟ้า คานเครนโดยทั่วไปจะมีรูปทรงเป็นตัว "I" ถ้ามีการรับน้ำหนักที่ไม่มากนัก เช่น รับน้ำหนักไม่น้อยกว่า 5 ตัน และคานกว้างไม่เกิน 12 เมตร สามารถใช้เหล็กไอบีม (I-Beam) หรือ เหล็กวายแฟรงช์ (WF) ได้ ถ้ารับน้ำหนักเกินกว่า 5 ตัน และคานกว้างมากกว่า 12 เมตร จะนิยมใช้เป็นเหล็กแผ่นประกอบขึ้นรูป (Box Girder) ตามมาตรฐาน BS Standard
 
ชุดขับเคลื่อนตามแนวยาว (End Carriage)
       ชุดขับเคลื่อนตามแนวยาว คือ ชุดขับคานเครนให้เคลื่อนที่ตามแนวยาวของอาคาร ประกอบด้วย ชุดโครงสร้างคานล้อ มอเตอร์ขับ, ชุดล้อขับ และล้อตาม (Wheel Box) ใช้ตู้คอนโทรลในการควบคุมการเคลื่อนที่ น้ำหนักทั้งหมดจากเครนทั้งชุด ล้อเครนทั้ง 4 ล้อ (Max Wheel Load) ตามมาตรฐาน BS Standard และกระจายน้ำหนักต่อไปยังรางวิ่งเครน ลงสู่เสาอาคารโรงงาน คานล้อโดยทั่วไป จะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1:7 ของความยาวคานเครน ยกตัวอย่างเช่น คานเครนกว้าง 20 เมตร ความยาวของคานล้อ 3 เมตร เป็นต้น ปัจจุบันการเคลื่อนที่ตามแนวยาวได้มีการนำชุดการปรับเปลี่ยนความเร็วต่อเนื่อง (Inverter Control) เข้ามาควบคุมการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า ทำให้การเคลื่อนที่นุ่มนวน และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รวมทั้งลดการสึกหรอ และช่วยประหยัดพลังงานได้อีกด้วย
 
 
ชุดรางวิ่ง และทางวิ่งเครน (Runway Beam & Rail)
      รางวิ่ง และทางวิ่งเครน เป็นชุดโครงสร้างที่รับรองชุดคานล้อขับเคลื่อนเครน จะทำการติดตั้งอยู่บนหัวเสา หรือ หูช้าง (Corbel) ที่เป็นโครงสร้างยื่นออกมาจากส่วนของเสาอาคารโรงงาน ถ้าระยะห่างของเสาอาคารตามยาว ระยะไม่เกิน 12 เมตร ทางวิ่งจะผลิตจากเหล็กประเภทวายแฟรงช์ (WF) หรือ ไอบีม (I-Beam)
 
       เมื่อกล่าวถึงคานเครน สิ่งที่จะละเลยไม่ได้ คือ ค่าโก่งงอ (Deflection) ของคานเครน ค่าโก่งงอของคานเครนที่นิยมใช้ในการออกแแบบ สำหรับงานเครนทั่วไป อยู่ที่ Deflection L/1000 ตามมาตรฐาน BS Standard
 
     
 
         สุดท้ายนี้ การออกแบบและการดีไซน์เครน บริษัทผู้ผลิตควรมีมาตรฐานอ้างอิงของขั้นตอนต่างๆ ในการผลิตเครน และมีการทดสอบโหลดน้ำหนัก (Load Test)  พร้อมเอกสารรับรองความปลอดภัยเครนไฟฟ้า (ปจ.1) และการอบรมการใช้เครนอย่างปลอดภัย มีบริการหลังการขาย อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญคือการเลือกใช้สินค้า และผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน
 

ผลงานเครนไฟฟ้า ของเดือนที่ผ่านมา

                                                                                             
         คอลัมน์สุดท้ายนี้ขอนำเสนอภาพผลงานเครนไฟฟ้ามาให้ลูกค้าทุกท่านได้ชมเช่นเคยเหมือนทุกๆ เดือนครับ ซึ่งในการผลิต และติดตั้งเครนไฟฟ้าในแต่ละงาน ทางบริษัทฯ ทำด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเท และตั้งใจที่จะสร้างผลิตเครนไฟฟ้าอย่างมีคุณภาพ เพื่อให้ลูกค้าได้ใช้งานเครนไฟฟ้าได้อย่างพึงพอใจถึงประสิทธิภาพ และคุณภาพการทำงานของรอก และเครนไฟฟ้า ในแต่ละงานที่ได้มีการติดตั้งให้กับลูกค้าทุกท่านครับ  และรูปภาพด้านล่างนี้ เป็นรูปภาพผลงานเครนไฟฟ้าของเดือนที่ผ่านมาครับ
 
 
กันทรีเครนแบบคานเดี่ยว ขนาดยกน้ำหนัก 3.2 ตัน ยกสูง 6 เมตร
กว้าง 24 เมตร รางยาว 55 เมตร  (จำนวน 1 ชุด)
(ติดตั้งที่จังหวัดนครราชสีมา)
                  
เครนเหนือศีรษะ แบบคานเดี่ยว ขนาดยกน้ำหนัก 2 ตัน ยกสูง 7 เมตร
กว้าง 18 เมตร รางยาว 24 เมตร  (จำนวน 1 ชุด)
(ติดตั้งที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
 
        บริษัท ไทแทน เครน ขอแสดงความขอบคุณลูกค้าเป็นอย่างสูงครับที่ได้ไว้วางใจ และให้โอกาส และสนับสนุนสินค้า และผลิตภัณฑ์เครนไฟฟ้าของทางบริษัท ไทแทน เครน ด้วยดีตลอดมา ทั้งนี้ทางบริษัท ไทแทน เครน ขอยืนยันว่าจะผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และการบริการที่ประทับใจหลังการขายเพื่อให้ลูกค้าเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้า และการบริการหลังการขายของทางบริษัทฯ ของเราตลอดไปครับ
 
        ท่านใดกำลังขยายโรงงาน และมีความต้องการที่จะใช้เครนไฟฟ้า เพื่อใช้ในการทำงานของท่าน สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ บริษัท ไทแทน เครน จำกัด ที่อยู่ 1/19 หมู่ 1 ตำบลพิมพา อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา หรือโทรศัพท์ได้ที่ เบอร์ 0 3857 1666-9 และแฟกซ์ 0 3857 1665 และอีเมลล์ titancrane@live.com ครับ
                                     
แล้วกลับมาพบกันใหม่ฉบับ เดือนเมษายน 2560 ครับ "สวัสดีครับ"
 
Sale Executive. ศุภชัย  ชัยยะ
Tel. 08-1140-8877
E-mail : sc_titancrane@live.com
                                                               
                                                                                                                                                                    

TITAN'S GROUP COMPANY

 
                                                                              
        TITAN CRANE CO.,LTD.
        1/19  Moo 1 Pimpa, Bangpakong, Chachoengsao 24180
        e-mail  :  titancrane@live.com
        web site  :  
www.titancrane.co.th
        https://www.facebook.com/TitanCrane.StreetHoist
                                                                                                                                       
 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  and  นโยบายคุกกี้