เครนไฟฟ้า

เครนเหนือศีรษะ แบบคานเดี่ยว มีความเหมาะสมใช้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้งานยกน้ำหนักไม่หนักมาก ซึ่งควรมีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 6 - 25 เมตร และควรมีน้ำหนักยกตั้งแต่ 0.1 ตัน ถึง 12.5 ตัน เป็นมาตรฐาน ซึ่งจะมีรอกไฟฟ้าสำหรับเครนแบบคานเดี่ยวที่ออกแบบผลิตเป็นมาตรฐานรุ่นต่างๆ ไว้แล้ว สำหรับใช้งานแขวนประกอบกับเครนชนิดนี้ โดยมีความเหมาะสมและปลอดภัย

เครนเหนือศีรษะ แบบคานคู่ มีความเหมาะสมกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้งานยกน้ำหนักที่หนักมาก ซึ่งควรมีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 10 - 30 เมตร และควรมีน้ำหนักยกตั้งแต่ 5 ตัน ถึง 50 ตัน เป็นมาตรฐาน ซึ่งจะมีรอกไฟฟ้าสำหรับเครนแบบคานคู่ที่ออกแบบผลิตเป็นมาตรฐานรุ่นต่างๆ ไว้แล้ว สำหรับใช้งานวางบนเครนแบบคานคู่ โดยมีความเหมาะสมและปลอดภัย

เครนสนามขาสูง 2 ข้าง แบบคานเดี่ยว มีความเหมาะสมใช้ติดตั้งบนพื้นที่กลางแจ้ง และในร่มใต้หลังคาโรงงาน สำหรับโรงงานที่ไม่ได้เตรียมโครงสร้างเสาไว้เพื่อรับเครนเหนือศีรษะ ซึ่งมีความจำเป็นต้องติดตั้งเครนสนามขาสูง 2 ข้าง วางบนพื้นโรงงาน และลักษณะเช่นเดี่ยวกับเครนเหนือศีรษะแบบคานเดี่ยวที่มีความเหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้งานยกน้ำหนักไม่หนักมาก

เครนสนามขาสูง 2 ข้าง แบบคานคู่ มีความเหมาะสมใช้ติดตั้งบนพื้นที่กลางแจ้ง และในร่มใต้หลังคาโรงงาน สำหรับโรงงานที่ไม่ได้เตรียมโครงสร้างเสาไว้เพื่อรับเครนเหนือศีรษะ ทุกประการเช่นเดียวกับเครนสนามขาสูง 2 ข้าง แบบคานเดี่ยว และลักษณะเช่นเดียวกับเครนเหนือศีรษะแบบคานคู่ ที่มีความเหมาะสมกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้งานยกน้ำหนักที่หนักมาก

เครนสนามขาสูง 1 ข้าง แบบคานเดี่ยว มีความเหมาะสมใช้บนพื้นที่กลางแจ้ง โดยติดตั้งรางวิ่งชั้นบนไว้ที่เสา ด้านข้าง - นอกตัวอาคารโรงงาน หรือใช้ติดตั้งในร่ม โดยติดตั้งรางวิ่งชั้นบนไว้ที่เสาด้านข้าง - ในตัวอาคารโรงงาน หรือผู้ใช้งานสามารถออกแบบเครนในโรงงานเป็น 2 ระดับได้อีกด้วย โดยใช้ติดตั้งใต้ชุดเครนเหนือศีรษะ เพื่อทำงานเฉพาะกับเครื่องจักร หรือใช้งานกับพื้นที่ในอาคารโรงงานงานด้านใดด้านหนึ่ง หรือติดตั้งไว้ทั้ง 2 ฝั่งของตัวอาคารโรงงานเดียวกันก็ได้

เครนสนามขาสูง 1 ข้าง แบบคานคู่ มีความเหมาะสมใช้ติดตั้งบนพื้นที่กลางแจ้ง และในร่มภายในตัวอาคารโรงงานมีคุณสมบัติทุกประการเช่นเดียวกันกับเครนสนามขาสูงข้างเดียว แบบคานเดี่ยว และกรณีที่ต้องการออกแบบเป็นแบบคานคู่ เพราะผู้ใช้งานต้องการประสิทธิภาพภาพในการยกวัตถุ และสินค้าที่หนักกว่า และพื้นที่ใช้งานในพื้นที่ที่กว้างกว่า ดังเช่นที่กล่าวมาแล้วของลักษณะของเครนแบบคานเดี่ยว และแบบคานคู่

เครนติดผนังยื่นแขนยก มีความเหมาะสมใช้สำหรับงานยกวัตถุงานหรือสินค้าตามความยาวตลอดแนวด้านข้างผนังตัวอาคารโรงงาน ซึ่งแตกต่างกับเครนติดผนังยื่นแขนหมุนที่สามารถทำงานได้เฉพาะบริเวณเสาที่ยึดติดเท่านั้น และมีลักษณะแตกต่างกับเครนสนามขาสูงข้างเดียว ตรงที่เครนสนามขาสูงข้างเดียวมีขาเครนข้างหนึ่งวิ่งบนรางด้านบนติดกับเสาโรงงาน และขาเครนอีกข้างหนึ่งวิ่งอยู่ด้านล่างของพื้นโรงงาน

เครนเสายื่นแขนยกหมุน มีความเหมาะสมใช้สำหรับงานยกวัตถุงานหรือสินค้าเฉพาะพื้นที่ รอบวงรัศมีความยาวของวงแขนที่ยื่นหมุนของชุดเครน ซึ่งการออกแบบเครนชนิดนี้ต้องคิดถึงความต้องการ 4 ประการที่ต้องตอบคำถามให้ผู้ออกแบบเครน

เครนเหนือศีรษะแขวนวิ่งใต้ราง สามารถออกแบบสร้างได้ทั้งแบบคานเดี่ยว และแบบคานคู่ ตามความเหมาะสมด้านการใช้งานเกี่ยวกับการยกน้ำหนัก และความกว้างในตัวอาคารโรงงาน ดังที่ได้กล่าวอธิบายไว้แล้วในส่วนของเครนเหนือศีรษะที่วิ่งด้านบนรางวิ่ง แต่สำหรับความแตกต่างกันที่ต้องนำเครนเหนือศีรษะลงมาแขวนวิ่งใต้รางก็คือ เครนลักษณะนี้มีความเหมาะสมใช้กับอาคารโรงงานอุตสาหกรรมบางอย่างที่ต้องการใช้งานพื้นที่ด้านล่างกว้างมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

เครนติดผนังยื่นแขนหมุน มีความเหมาะสมใช้สำหรับงานยกวัตถุงานหรือสินค้าเฉพาะพื้นที่ รอบวงรัศมีความยาวของวงแขนที่ยื่นหมุนของชุดเครน เช่นเดียวกันกับเครนตั้งเสายื่นแขนหมุน แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือการใช้เสาของอาคารโรงงานเป็นตัวยึดโครงสร้างเพื่อให้แขนหมุนเท่านั้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้